อาหารเป็นพิษ อันตรายที่มากับอาหาร
อาหารเป็นพิษ อันตรายที่มากับอาหาร
March 11 / 2022

 

อาหารเป็นพิษ

อันตรายที่มากับอาหาร

 

 

อาหารเป็นพิษ (food poisoning) เป็นภาวะที่เกิดจากรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสียถ่ายเหลวตามมา อาหารเป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยทั่วไปอาหารเป็นพิษเป็นภาวะไม่รุนแรง และสามารถหายได้เอง แต่หากเกิดอาการรุนแรงจะทำให้เกิดการสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่จนเกิดภาวะช็อคได้

 

 

 

 

 

สาเหตุของอาหารเป็นพิษ

 

ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือปรสิต ซึ่งเชื้อที่มักเป็นสาเหตุของภาวะอาหารเป็นพิษ คือ  

 

  • ซาลโมเนลลา (Salmonella) พบมากในเนื้อสัตว์ดิบ ไข่ดิบ นม และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
  • เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia Coli) หรืออีโคไล (E. Coli) บางสายพันธ์ุ โดยพบมากในเนื้อสัตว์ดิบ
  • คลอสติเดียม โบทูลินัม (Clostridium Botulinum) เชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่มีออกซิเจนน้อย จึงมักพบในอาหารที่บรรจุในภาชนะปิดสนิท ที่ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น หน่อไม้ปี๊บ หน่อไม้ดอง ผักกาดดอง เนื้อสัตว์แปรรูป เป็นต้น
  • ชิเกลล่า (Shigella) พบการปนเปื้อนทั้งในผลิตภัณฑ์อาหารสดน้ำดื่มที่ไม่สะอาด รวมไปถึงอาหารสดที่สัมผัสกับคนที่มีเชื้อโดยตรง
  • ไวรัสที่ก่อโรคในทางเดินอาหาร (Enteric Viruses)  ที่มักปนเปื้อนได้ทั้งในอาหารสด สัตว์น้ำที่มีเปลือก และน้ำดื่มที่ไม่สะอาด

 

 

 

อาการของอาหารเป็นพิษ

 

ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการภายใน 1-2 วัน ขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของเชื้อที่ร่างกายได้รับเข้าไป โดยอาจมีอาการหลังรับประทานอาหารไม่กี่ชั่วโมง หรือนานเป็นสัปดาห์หากได้รับเชื้อรุนแรง โดยอาการป่วยของผู้ที่เผชิญภาวะอาหารเป็นพิษ มีดังนี้

 

  • รู้สึกพะอืดพะอม คลื่นไส้ อาเจียนติดต่อกันหลายครั้ง หรืออาเจียนรุนแรงจนมีเลือดออกได้
  • มีอาการปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพักๆ เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้
  • ถ่ายเหลว ถ่ายมีมูก หรือเลือดปน
  • เบื่ออาหาร
  • มีอาการสูญเสียน้ำ เช่น รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ หมดเรี่ยวแรง ปากแห้ง ตาโบ๋ กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะน้อย เป็นต้น
  • มีไข้

 

 

 

การป้องกันอาหารเป็นพิษ

 

  • ดื่มน้ำสะอาด
  • รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุก
  • ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ค้างคืน
  • เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู และสัตว์อื่นๆ
  • แยกอาหารดิบและสุกออกจากกัน ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนทำอาหารทุกครั้ง
  • ใช้ช้อนกลาง

 

 

 

การรักษาอาหารเป็นพิษ

 

โดยปกติถ้าอาการของผู้ป่วยไม่รุนแรงสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยรักษาตามอาการ และปฎิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

 

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และดูแลไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • ดื่มน้ำผสมผงเกลือแร่ หรือ ORS เพื่อทดแทนน้ำและแร่ธาตุบางชนิดที่สูญเสียไปจากการอาเจียนและถ่ายอุจจาระ โดยให้จิบทีละน้อยตลอดทั้งวันควบคู่กับการรับประทานอาหารตามปกติ และสามารถดื่มได้จนกว่าจะหยุดอาเจียนหรือกลับมาถ่ายอุจจาระแบบเป็นก้อนแล้ว
  • รับประทานยาแก้ท้องเสีย โดยผู้ป่วยอาจใช้ยาแก้ท้องเสียภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อช่วยบรรเทาอาการท้องเสียควบคู่ไปกับการดื่มน้ำ และผงเกลือแร่ซึ่งเป็นการรักษาหลัก
  • เมื่ออาการดีขึ้นควรรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่ายและมีไขมันน้อย เช่น โจ๊กหรือข้าวต้ม เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของนม แอลกอฮอล์ คาเฟอีน น้ำอัดลม อาหารไขมันสูง และอาหารรสจัด

 

 

 

อาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยทั่วไปเป็นภาวะไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง

หากมีอาการรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ 

 

 

 

ตรวจมะเร็งปากมดลูก

ราคา 1,900 บาท

วัคซีนไข้เลือดออก

ราคา 2,500 บาท

ผ่าตัดถุงน้ำดีโดยใช้กล้อง

ราคา 110,000 บาท

ผ่าตัดไส้ติ่งแบบเปิด

ราคา 68,000 บาท

ส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ

ราคา 10,000 บาท

วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด

ราคา 5,500 บาท